แมลงตดเป็นด้วงชนิดหนึ่ง มีสมาชิกอยู่ประมาณ 500 ชนิด ชนิดที่พบเห็นได้บ่อยในประเทศไทย ได้แก่ ชนิด Pherosophus javanus และชนิด Pherosophus occipitalis ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันตามภาคต่างๆ เช่น "แมลงตดหรือกะตด"ในภาคกลาง, "แต๊บ"ในภาคเหนือแถบจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน, ทางภาคตะวันออก เช่น แถบปราจีนบุรี เรียก"ปล่อยตด" ส่วนทางภาคใต้ในแถบจังหวัดสงขลา ตรัง พัทลุง สตูล และยะลา เรียก"ขี้ตด"
รูปร่างลักษณะ แมลงตดมีหัวแคบ ความกว้างของหัวน้อยกว่าความกว้างของส่วนที่กว้างที่สุดของอกปล้องแรก ส่วนอกแคบกว่าส่วนท้อง ปีกคู่หน้าใหญ่คลุมท้องเกือบทั้งหมดหรือทั้งหมด ปลายปีกตัด ตัวผู้และตัวเมียมีอวัยวะที่ปล่อยแก๊สเป็นหมอกออกมาสำหรับป้องกันตัวซึ่งมี ส่วนผสมของสารพิษพวก quinol ขณะปล่อยแก๊สจะมีเสียงดังคล้ายตด สารพิษที่ปล่อยออกมาจะมีผลยับยั้งไม่ให้ศัตรูเข้ามาทำอันตราย
สารพิษที่แมลงตดปล่อยออกมามีกลิ่นเหม็นฉุน เมื่อถูกผิวหนังจะมีอาการแสบร้อนคล้ายถูกกรด หากโดนถูกจุดสำคัญ เช่น ตา อาจทำให้ตาบอดได้
การรักษา ล้างผิวหนังบริเวณที่ถูกพิษด้วยน้ำสะอาดมากๆ เพื่อลดปริมาณของสารพิษ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น