ad left side

Right Up Corner

ad

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แตน

อ้างถึง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%99


 
แตน (อังกฤษ: Hymenoptera) จัดเป็นแมลงจำพวกผึ้ง เพราะว่ามีเหล็กในและการดำรงชีวิตที่คล้ายคลึงกัน แตนเป็นแมลงเอวคอด ปีกบางสองคู่ แตนมีหลายชนิดสร้างรังรูปแบบแปลกๆ สวยงาม แตนบัว หรือแตนฝักบัวสร้างรังคล้ายกับฝักบัวคว่ำ รังนี้ยึดติดแน่นกับกิ่งไม้ ด้านล่างของรังที่หันลงดินแบ่งเป็นช่องสำหรับเป็นที่อยู่ของตัวอ่อน และเป็นทางเข้าออก แตนสร้างรังโดยการเคี้ยวไม้เก่าๆ ผสมกับน้ำลายซึ่งจะแปรสภาพเป็นเยื่อไม้แล้วเอาไปเรียงต่อกันเป็นห้องจนกลาย เป็นรัง
ภายหลังผสมพันธุ์เสร็จ เมื่อแม่แตนสร้างรังหรือห้องได้บ้างแล้ว มันจะไปหาอาหารมาทิ้งไว้ให้ลูกอ่อนกิน อาหารตัวอ่อนชอบกิน คือตัวหนอนผีเสื้อ ซึ่งแม่แตนจะต่อยให้สลบแล้วนำมาใส่ไว้ในช่องที่เตรียมไว้เมื่อไข่ฟักเป็นตัว ก็จะมีอาหารกิน แมลงจำพวกเดียวกันกับแตนมีหลายชนิด เช่น ต่อ ต่อหมาร่า รูปร่างคล้ายกัน แต่สีแตกต่างกันไป สีเหลือง ดำสลับเหลือง รังอาจเป็นรูปกลมรี รูปกระปุกหรือแบบลูกฟูก แตนบางชนิดทำรังด้วยดิน


อ้างถึง http://www.rd1677.com/branch.php?id=54618

'แตนเบียนสาว' ศัตรูตัวฉกาจของ แมลงวันผลไม้
ปัจจุบันผลไม้ของไทย เช่น มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่ เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ และยังเป็นผลไม้ที่คนไทยหลาย ๆ คนชอบรับประทาน และด้วยกระแสความนิยมการรับประทานผักผลไม้ปลอดสารเคมี การปลูกพืช ผัก ผลไม้จึงมีการใช้หลักการชีววิถีเพิ่มขึ้น โดยการใช้แมลงที่เป็นประโยชน์กำจัดแมลงศัตรูพืชเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ เกษตรกรนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย หนึ่งในแมลงที่เป็นประโยชน์ที่คอยทำหน้ากำจัดแมลงที่สร้างความเสียหายให้กับ สวนผลไม้ คือ แตนเบียน

รศ.ดร.สังวรณ์ กิจทวี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิจัยผู้ศึกษาพฤติกรรมของแตนเบียน กล่าวว่า แตนเบียนจัดเป็นแมลงในกลุ่มเดียวกับผึ้ง ต่อ แตน ด้วยลักษณะการดำรงชีวิตของแตนเบียนชนิดนี้จะไม่ทำอันตรายต่อคน แต่กลับเป็นเพชฌฆาตที่ร้ายกาจ ของแมลงศัตรูพืช ด้วยพฤติกรรมการวางไข่ไว้ในแมลงศัตรูพืช และใช้น้ำเลี้ยงภายในตัวแมลงเป็นอาหารสำหรับการเจริญเติบโต และทำให้แมลง ศัตรูพืชตายในที่สุด ทั้งนี้แตนเบียนในประเทศไทยมีด้วยกันหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีความสามารถในการกำจัดแมลงศัตรูต่างชนิดกัน

“แตนเบียนที่ทำหน้าที่กำจัดแมลงศัตรูพืช คือ แตนเบียนเพศเมีย โดยอาวุธที่ร้ายกาจ คืออวัยวะวางไข่เรียวยาว ปลายแหลม คล้ายฉมวกขนาดจิ๋ว สำหรับแทงและวางไข่ในตัวหนอนแมลงวันผลไม้ ทั้งนี้แตนเบียนเพศเมียสามารถค้นหาเป้าหมายในการวางไข่ได้จากการรับกลิ่นสาร เคมีที่ผลิตจากปฏิกิริยาการสุกเน่าของผลไม้ และเสียงสั่นจากการเคลื่อนไหวของแมลงศัตรูพืช โดยแตนเบียนแต่ละตัวสามารถวางไข่ได้ตลอดชีวิตประมาณ 100 ฟอง จึงสามารถควบคุมแมลงศัตรูพืชได้เป็นจำนวนมาก และเนื่องจากแตนเบียนเป็นแมลงที่มีความพิเศษคือมีไข่ที่สามารถฟักเป็นตัว อ่อนได้โดยไม่ต้องรับการผสมจากตัวผู้ ซึ่งไข่ที่ไม่ได้รับการผสมนี้จะให้ตัวอ่อนแตนเบียนเพศผู้ ในขณะที่ไข่ที่ได้รับการผสมจะได้ตัวอ่อนแตนเบียนเพศเมีย ดังนั้นปัญหาที่พบคือ จำนวนตัวอ่อนที่เกิดขึ้นเป็นเพศผู้เสียส่วนใหญ่ เนื่องจากแตนเบียนเพศเมียจะมุ่งเน้นการวางไข่มากกว่าการผสมพันธุ์กับเพศผู้”

ด้วยเหตุนี้ รศ.ดร.สังวรณ์ จึงได้ทำการศึกษาการเพิ่มปริมาณแตนเบียนเพศเมีย โดยการสนับสนุนของโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากร ชีวภาพในประเทศไทย (โครงการ BRT) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย (BIOTEC) และได้เลือกศึกษาแตนเบียนสายพันธุ์ Diachasmimorpha longicaudata (Ashmead) ซึ่งจะวางไข่เฉพาะในแมลงวันผลไม้

รศ.ดร.สังวรณ์ กล่าวว่า การใช้แตนเบียนในการควบคุมแมลงศัตรูพืชให้มีประสิทธิภาพ ควรมีการเพาะเลี้ยงให้ได้แตนเบียนที่มีเพศเมียมากกว่าเพศผู้ เพื่อให้สามารถควบคุมแมลงได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ซึ่งจากการศึกษาพบว่า วิธีการควบคุมระบบสืบพันธุ์ให้ไข่ได้รับการผสม หรือได้รับการปฏิสนธิต้องอาศัยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารระหว่างเพศ ผู้และเพศเมีย การสื่อสารดังกล่าว ได้แก่ การสื่อสารด้วยเสียง (การขยับปีกของเพศผู้) และกลิ่น (pheromone) ซึ่งมีผลให้เพศเมียยอมรับการผสมพันธุ์ เพิ่มโอกาสให้ตัวอสุจิผสมกับไข่ได้มากยิ่งขึ้น แตนเบียนเพศเมียจะเลือกวางไข่ที่ได้รับการผสมลงในตัวอ่อนแมลงวันผลไม้ที่มี ขนาดใหญ่หรือสมบูรณ์ และมักจะเลือกวางไข่ที่ไม่ได้รับการผสมในแมลงวันผลไม้ขนาดเล็ก

...ดังนั้นไข่ที่ได้รับการผสมนอกจากจะผลิตตัวอ่อนเพศเมียที่มีประสิทธิภาพใน การกำจัดแมลงวันผลไม้ในรุ่นต่อไปแล้ว ยังสามารถกำจัดแมลงวันผลไม้ที่มีความสมบูรณ์และมีความสามารถในการทำลายผลไม้ ได้มากได้ดีกว่าอีกด้วย.

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ตูม หรือ แมงปุ๋ม หรือ แมงซ้าง หรือ แมงหลุม หรือ แมงขุม หรือ แมงบุ๋ม หรือ กุดต้ม

อ้างถึง http://www.isan.clubs.chula.ac.th/para_norkhai/?transaction=post_view.php&cat_main=2&id_main=301&star=110


ชื่อพื้นเมือง แมงปุ๋ม  แมงซ้าง  แมงหลุม  แมงขุม แมงบุ๋ม   กุดต้ม(นักล่าแห่งผผืนทราย)
ชื่อสามัญ antlion

วงศ์  Myrmeleontidae.
อันดับ Neuroptera

เป็นชื่อของตัวอ่อนของแมลงชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่ในหลุมทราย คอยจับเหยื่อ
ที่ตกลงหลุมมาเป็นอาหาร เช่น มด และ แลงคลานชนิดอื่น ๆ
ในประเทศไทย มีการศึกษาแมลงในวงศ์นี้น้อยมาก มีรายงานการพบ
และทราบชื่อแล้วเพียง  2 ชนิดเท่านั้น


ถิ่นอาศัย

          วัยตัวอ่อน อาศัยขุดหลุมตาม พื้นดินทราย หรือ ดินร่วน ตามลาน
ตามพื้นที่ใต้ร่มไม้ใหญ่ต่าง ๆ
ระยะตัวอ่อนอาศัยอยู่ในทรายหรือดินละเอียด อาจอยู่ใต้หลังคาหรือในที่ไม่มีฝนตกหรือน้ำค้างตกใส่ จะสร้างหลุมเป็นรูปกรวย มักพบในพื้นที่ป่าหรือพื้นที่ชนบท
แต่ไม่ค่อยพบในเขตเมือง

อาหาร

แมลงขนาดเล็ก ส่วนใหญ่แล้วเป็นมด แมงมุมขนาดเล็ก และแมลงชนิดต่างๆ

ลักษณะนิสัย

มุดตัวลงไปใต้พื้นทราย แล้วใช้ขากรรไกรโยนทรายขึ้นมาหลุม จนหลุมมีลักษณะเป็นรูปกรวย โดย ตัวอ่อนของแมลงช้างจะซ่อนตัวอยู่ใต้ก้นหลุม เพื่อดักจับเหยื่อที่เป็นแมลงขนาดเล็ก เมื่อแมลงตกลงไปในหลุมจะไม่สามารถขึ้นมาได้ เพราะทรายในบริเวณขอบหลุมจะยึดตัวกันหลวม ๆ  เมื่อแมลงพยายามเดินขึ้นมาจะลื่นไถลตามทรายตกลงสู่ก้นหลุม  ตัวอ่อน แมลงช้างที่อยู่ก้นหลุมก็จะใช้ขากรรไกรกัดและดูดเหยื่อเป็นอาหาร  


วิธีขุดหลุม

ใช้ก้นไถพื้นทรายเป็นวง และใช้หัวและขากรรไกรที่เหมือนเขี้ยว เหวี่ยงสะบัดทรายที่ขึ้นมาอยู่ข้างบนออกไปเรื่อย ๆ ก็จะได้หลุมรูปกรวยภายในเวลาอย่างน้อย 15 นาที
หลุมของแมลงช้างจะมีความสัมพันธ์ตามขนาดของตัวอ่อนแมลงช้าง
จะเห็นว่าขอบในของที่ดูเป็นเขี้ยว อันที่จริงคือขากรรไกร จะมีเป็นหนามแหลมซึ่งมีรูเล็ก ๆ อยู่ สำหรับปล่อยพิษ   เข้าไปในตัวมดที่เป็นเหยื่อของมัน และดูดน้ำในตัวมดเป็นอาหาร จนตัวมดแห้งเหลือแต่เปลือก มันก็จะเหวี่ยงซากมดออกไปจากหลุม
ของมัน และเตรียมพร้อมสำหรับรอเหยื่อรายใหม่
 

วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

จิ้งโกร่ง จิโป่ม จิหล่อ



จิ้งหรีด ทองดำ ทองแดง จิหรีด กิหรีด

ด้วงก้นกระดก

ด้วงก้นกระดก (Rove beetle)


ด้วงก้นกระดก เป็นแมลงปีกแข็ง ตัวเต็มวัยจะมีขนาด 0.6-0.8 ซม. ตัวเรียวยาวมีสีดำ มีปีก 2 คู่ ออกจากส่วนอกและยาวปกคลุมส่วนต้นของท้อง ปีกคู่แรกเป็นแผ่นแข็ง (elytron) ปีกคู่ที่สองซ่อนใต้ปีกคู่แรก ทำให้เห็นลักษณะคล้ายมด ส่วนท้องโก่ง ปลายส่วนท้องกระดกขึ้น ด้วงก้นกระดกพบได้ทั่วๆไปในทุ่งหญ้า หลังฝนตกและน้ำท่วม ด้วงก้นกระดกกินแมลงเล็กๆเป็นอาหาร ซึ่งเป็น biological control ของแมลงในธรรมชาติ
ด้วงก้นกระดกมีสารพิษชื่อ paederin สะสมอยู่ในน้ำเลือดที่กระจายทั่วตัวของแมลง สารนี้พบได้ทั้งในไข่ ตัวอ่อน ตัวเต็มวัย การสัมผัสสารนี้ทำให้เกิดผิวหนังอักเสบแบบ vesicular dermatitis มีอาการแสบร้อน หากเข้าตาจะทำให้เกิดเยื่อตาขาวอักเสบ

แมงตด แมลงตด

แมลงตด (Bombadier beetle)


แมลงตดเป็นด้วงชนิดหนึ่ง มีสมาชิกอยู่ประมาณ 500 ชนิด ชนิดที่พบเห็นได้บ่อยในประเทศไทย ได้แก่ ชนิด Pherosophus javanus และชนิด Pherosophus occipitalis ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันตามภาคต่างๆ เช่น "แมลงตดหรือกะตด"ในภาคกลาง, "แต๊บ"ในภาคเหนือแถบจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน, ทางภาคตะวันออก เช่น แถบปราจีนบุรี เรียก"ปล่อยตด" ส่วนทางภาคใต้ในแถบจังหวัดสงขลา ตรัง พัทลุง สตูล และยะลา เรียก"ขี้ตด"
รูปร่างลักษณะ แมลงตดมีหัวแคบ ความกว้างของหัวน้อยกว่าความกว้างของส่วนที่กว้างที่สุดของอกปล้องแรก ส่วนอกแคบกว่าส่วนท้อง ปีกคู่หน้าใหญ่คลุมท้องเกือบทั้งหมดหรือทั้งหมด ปลายปีกตัด ตัวผู้และตัวเมียมีอวัยวะที่ปล่อยแก๊สเป็นหมอกออกมาสำหรับป้องกันตัวซึ่งมี ส่วนผสมของสารพิษพวก quinol ขณะปล่อยแก๊สจะมีเสียงดังคล้ายตด สารพิษที่ปล่อยออกมาจะมีผลยับยั้งไม่ให้ศัตรูเข้ามาทำอันตราย
สารพิษที่แมลงตดปล่อยออกมามีกลิ่นเหม็นฉุน เมื่อถูกผิวหนังจะมีอาการแสบร้อนคล้ายถูกกรด หากโดนถูกจุดสำคัญ เช่น ตา อาจทำให้ตาบอดได้
การรักษา ล้างผิวหนังบริเวณที่ถูกพิษด้วยน้ำสะอาดมากๆ เพื่อลดปริมาณของสารพิษ

แมงช้าง

ด้วงมะพร้าว

แมงช้างป่า

แมงหัวแข็ง

พญาหิ่งห้อย หรือ หิ่งห้อยช้างยักษ์ หรือ ทิ้งถ่วง






yengo ad