จักจั่น (Cicada) จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โธรพอด order Hemiptera,suborder Auchenorrhyncha
- มีตาขนาดใหญ่ อยู่ด้านข้างของหัว มีประสาทการรับรู้ที่ดีอยู่บนปีก
- ค้นพบประมาณ 2500 สปีชี่ส์แล้ว บนโลก
- จั๊กจั้นอาศัยอยู่ในบริเวณเขตร้อน ซึ่งเป็นแมลงที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะมีขนาดที่ใหญ่ และสามารถส่งเสียงที่ไพเราะได้
- จั๊กจั่นบางครั้งจะถูกสับสนกับ ตั๊กแตนหนวดสั้น (locust)
- จั๊กจั่นไม่มีเหล็กไนไว้ต่อย และไม่กัดมนุษย์
- บางพื้นที่ จั๊กจั้นถือว่าเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยม และยังจัดเป็นอาหารยาอีกด้วย
“จักจั่นขาวซ่อนฟ้า” ต้นตระกูลแห่งกรุงศรีอยุธยา
(Ghost Cicada / Ayuthia spectabile)
สัดส่วน ความยาวลำตัว 2.6-3.0 ซ.ม.
ความน่าสนใจ - น่าจะมีแมลงในเมืองไทยอยู่ชนิดเดียวที่มีชื่อสกุลสากลที่ฝรั่งเรียกกันทั่วโลก ที่หมายถึง อยุธยา (Ayuthia)
สถานที่นัดพบ ตามป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา ในภาคเหนือและภาคตะวันตก
การ ตามหาแมลงสักชนิดหนึ่งในธรรมชาติไม่ใช่เรื่องง่ายนัก มีปัจจัยร้อยแปดพันประการที่เราจะไม่ได้เจอมันง่ายๆ แม้ว่าน้าจะรู้จุดนัดพบแล้วก็ตาม แต่แมลงมักจะไม่ยอมมาตามนัด ปล่อยให้น้ารอเก้ออยู่เดียวดายอยู่บ่อยๆ
หลานเอ๋ย แต่บางครั้งจู่ๆ มันก็ออกมาให้เจอตัวโดยบังเอิญ อย่างเช่นจักจั่นขาวซ่อนฟ้าตัวนี้ มัน มาทักทายน้าในผืนป่าตะวันตกของประเทศที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก โดยที่น้าเองตั้งตัวไม่ทัน และงงอยู่พักใหญ่ว่าเจ้าจักจั่นขาวปีกในมีสีฟ้าอ่อนๆ นี้เป็นจักจั่นอะไร มันผิดเพี้ยนด้วยความพิการหรือไม่ หรือว่ามันเป็นจักจั่นชนิดพิเศษที่แอบซ่อนตัวอยู่ในป่าลึกมาช้านาน
และไม่เพียงแต่น้าเท่านั้นที่มึนงงอยู่กับหน้าตาของจักจั่นตัวนี้ อาจารย์จารุจินต์ นภีตะภัฏ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องแมลงและเป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของน้าก็มึนงงไปด้วย
น้าตามหาข้อมูลอยู่พักใหญ่ ก็ได้มาด้วยความดีใจว่า คุณ Distant คน ที่พบตัวมันครั้งแรกตั้งชื่อสกุลที่หมายถึง กรุงศรีอยุธยา น้าไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกับจักจั่นขาวซ่อนฟ้าตัวนี้ในด้านใด จะเจอครั้งแรกที่กรุงศรีอยุธยา หรือว่าคนตั้งชื่อมีความผูกพันกับกรุงศรีอยุธยา เพราะมีการตั้งชื่อไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2462 หรือเมื่อ 88 ปีก่อนโน้น
ข้อมูลที่ตามมาก็คือ หลานสามารถจะพบมันได้แถวๆ ภาคเหนืออีกด้วย และส่วนใหญ่ก็จะเจอกันแถวนั้น ไม่ใช่เฉพาะป่าตะวันตกตามที่น้าไปเจอมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น