ad left side

Right Up Corner

ad

วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

จิ้งโกร่ง จิโป่ม จิหล่อ



จิ้งหรีด ทองดำ ทองแดง จิหรีด กิหรีด

ด้วงก้นกระดก

ด้วงก้นกระดก (Rove beetle)


ด้วงก้นกระดก เป็นแมลงปีกแข็ง ตัวเต็มวัยจะมีขนาด 0.6-0.8 ซม. ตัวเรียวยาวมีสีดำ มีปีก 2 คู่ ออกจากส่วนอกและยาวปกคลุมส่วนต้นของท้อง ปีกคู่แรกเป็นแผ่นแข็ง (elytron) ปีกคู่ที่สองซ่อนใต้ปีกคู่แรก ทำให้เห็นลักษณะคล้ายมด ส่วนท้องโก่ง ปลายส่วนท้องกระดกขึ้น ด้วงก้นกระดกพบได้ทั่วๆไปในทุ่งหญ้า หลังฝนตกและน้ำท่วม ด้วงก้นกระดกกินแมลงเล็กๆเป็นอาหาร ซึ่งเป็น biological control ของแมลงในธรรมชาติ
ด้วงก้นกระดกมีสารพิษชื่อ paederin สะสมอยู่ในน้ำเลือดที่กระจายทั่วตัวของแมลง สารนี้พบได้ทั้งในไข่ ตัวอ่อน ตัวเต็มวัย การสัมผัสสารนี้ทำให้เกิดผิวหนังอักเสบแบบ vesicular dermatitis มีอาการแสบร้อน หากเข้าตาจะทำให้เกิดเยื่อตาขาวอักเสบ

แมงตด แมลงตด

แมลงตด (Bombadier beetle)


แมลงตดเป็นด้วงชนิดหนึ่ง มีสมาชิกอยู่ประมาณ 500 ชนิด ชนิดที่พบเห็นได้บ่อยในประเทศไทย ได้แก่ ชนิด Pherosophus javanus และชนิด Pherosophus occipitalis ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันตามภาคต่างๆ เช่น "แมลงตดหรือกะตด"ในภาคกลาง, "แต๊บ"ในภาคเหนือแถบจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน, ทางภาคตะวันออก เช่น แถบปราจีนบุรี เรียก"ปล่อยตด" ส่วนทางภาคใต้ในแถบจังหวัดสงขลา ตรัง พัทลุง สตูล และยะลา เรียก"ขี้ตด"
รูปร่างลักษณะ แมลงตดมีหัวแคบ ความกว้างของหัวน้อยกว่าความกว้างของส่วนที่กว้างที่สุดของอกปล้องแรก ส่วนอกแคบกว่าส่วนท้อง ปีกคู่หน้าใหญ่คลุมท้องเกือบทั้งหมดหรือทั้งหมด ปลายปีกตัด ตัวผู้และตัวเมียมีอวัยวะที่ปล่อยแก๊สเป็นหมอกออกมาสำหรับป้องกันตัวซึ่งมี ส่วนผสมของสารพิษพวก quinol ขณะปล่อยแก๊สจะมีเสียงดังคล้ายตด สารพิษที่ปล่อยออกมาจะมีผลยับยั้งไม่ให้ศัตรูเข้ามาทำอันตราย
สารพิษที่แมลงตดปล่อยออกมามีกลิ่นเหม็นฉุน เมื่อถูกผิวหนังจะมีอาการแสบร้อนคล้ายถูกกรด หากโดนถูกจุดสำคัญ เช่น ตา อาจทำให้ตาบอดได้
การรักษา ล้างผิวหนังบริเวณที่ถูกพิษด้วยน้ำสะอาดมากๆ เพื่อลดปริมาณของสารพิษ

แมงช้าง

ด้วงมะพร้าว

แมงช้างป่า

แมงหัวแข็ง

พญาหิ่งห้อย หรือ หิ่งห้อยช้างยักษ์ หรือ ทิ้งถ่วง






yengo ad